วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักฐานทางประวัติศาสตร์



มาตรฐานการเรียนรู้  4.1 
                         เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

ตัวชี้วัด  ส 4.1 ม.2/1
                         ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ

สาระสำคัญ
                         อยุธยาเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ย่อมต้องมีเหตุการณ์มากมายที่น่าสนใจศึกษา และจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานหลายประเภท ทั้งหลักฐานโบราณคดีและหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร การจะสร้างภาพเหตุการณ์ในอดีตให้มีความสมจริงมากที่สุด จึงต้องมีวิธีการศึกษาจากหลักฐาน
ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
                         1.  นักเรียนเข้าใจขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ลักษณะ ประเภท และแหล่งที่มา
ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของเอเชีย
                         2.  นักเรียนสามารถรวบรวมหลักฐานและข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาได้
                         3.  นักเรียนสามารถใช้หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาได้
สาระการเรียนรู้
                         1.  ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
                         2.  หลักฐานและข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
         3.  องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
กิจกรรมการเรียนรู้
                         1. นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้นักเรียนดูภาพประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและสมัยต่างๆ แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าจะศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
                         2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                         3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
                         4. มอบหมายให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์จากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2 จากนั้นสุ่มตัวแทนนักเรียน 1 - 2 คน สรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษา
                         5. ให้นักเรียนวิเคราะห์กรณีศึกษาในใบงาน เรื่อง ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ เสร็จแล้วนำส่งครู
                         6. ครูสรุปและเฉลยใบงาน ว่าแต่ละข้อควรเป็นขั้นตอนใดของวิธีการทางประวัติศาสตร์ พร้อมเปิดโอกาสให้มีการซักถามข้อสงสัย
                         7. ตัวแทนนักเรียนสรุปเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษา
                         8. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน มอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ แล้วเลือกประเด็นที่สนใจมากลุ่มละ 1 เรื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ หาข้อเท็จจริงของประเด็นที่ศึกษานั้น เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
                         1.  หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                         2.  ใบงาน  เรื่อง ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์